จิตบำบัดคืออะไร
จิตบำบัดเป็นกระบวนการทางจิตวิทยา เพื่อรักษา เยียวยา และดูแล  ผู้ที่กำลังพบกับปัญหาด้านต่างๆ เช่น ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ คนที่กำลังเศร้า ทุกข์  วิตกกังวล ไม่มีความสุข , ผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ ปัญหาทางการเรียน ปัญหาครอบครัว หรือ ปัญหาความสัมพันธ์ต่างๆ  ในการทำจิตบำบัด นักจิตบำบัดจะประเมินสาเหตุของปัญหา ช่วยให้ผู้เข้ารับบำบัด ได้ระบายความรู้สึกข้างใน ได้รู้สึกผ่อนคลาย และเห็นทางออกของปัญหา นักจิตบำบัดบจะวางแผนในการบำบัดจิตใจรายบุคคล

เป้าหมาย โดยรวมของการทำจิตบำบัด
เพื่อให้ผู้รับบำบัดเข้าใจตัวเองมากขึ้น ยืดหยุ่น รู้ทันตัวเอง สามารถเปลี่ยนแปลง เห็นทางออกของปัญหา และมีความสุขกับชีวิต คลินิกสุขภาพจิต

อาการแบบไหน ที่ควรพบนักจิตบำบัด

  • รู้สึกหมดหวังและรู้สึกเศร้าเป็นเวลานาน
  • มีอารมณ์ทั้งเศร้า เหงา หรือจิตตก อยากจะหาคนระบายให้ฟัง
  • ไม่มีความสุข อาการที่เกิดขึ้นกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ไม่มีสมาธิในการทำกิจกรรม หรือการงานต่าง ๆ
  • นอนไม่หลับ หรือนอนหลับเยอะเกินไป
  • เบื่อโลก เบื่อตัวเอง เบื่อคนรอบข้าง
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง ขึ้นลงง่าย หงุดหงิดง่าย
  • เครียด ใจสั่น หัวใจเต้นแรง ตื่นเต้นกับทุกเหตุการณ์รอบตัว
  • อยากแยกตัวกับสังคม เก็บตัว พูดคุยน้อยลง
  • รู้สึกซึมเศร้า เครียด หรือโกรธ จนส่งผลต่อความสันพันธ์กับคนรอบข้าง หน้าที่การงาน การเรียนและคุณภาพชีวิต
  • รู้สึกวิตกกังวลอย่างมาก คิดในด้านลบอยู่เสมอ
  • มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวขึ้น คิดทำร้ายตัวเองหรือผู้อื่น

จิตบำบัดช่วย

  • แก้ไขปัญหาด้าน
    • อารมณ์
    • ความสัมพันธ์ 
    • ความสูญเสีย
    • บุคลิกภาพ 
    • ปัญหาพฤติกรรม เช่น นอนหลับ เสพติด 
    • PTSD
  • คลายปมในใจ 
  • ช่วยให้ผู้รับบริการสื่อสารสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ ได้ระบายความรู้สึก 
  • ทำความเข้าใจในตนเอง 
  • บำบัดภาวะซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ
  • ช่วยให้ผู้รับบริการ มองเห็นหาทางออกของปัญหา ทำให้ปัญหาคลีคลาย
  • ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและทางสังคม 
  • แก้ปัญหาพฤติกรรม
  • ผ่อนคลายความเครียด

ประเภทการทำจิตบำบัด

  • ิตบำบัดเดี่ยว
  • จิตบำบัดแบบกลุ่ม
  • คู่สมรสบำบัด
  • ครอบครัวบำบัด

วิธีการทางจิตบำบัดแบ่งออก 3 กลุ่มหลักๆด้วยกัน

  • จิตบำบัดโดยเน้นการพูดคุย เช่น จิตบำบัดด้วยวิธีแบบ CBT, Satir, Solution based therapy, Systemic  therapy จิตบำบัดเชิงโครงสร้าง  หรือ การทำจิตวิเคราะห์ 
  • จิตบำบัดวิธีการเฉพาะอื่นๆ เช่น การทำศิลปะบำบัด, ละครบำบัด, ดนตรีบำบัด ,Play based therapy
  • Holistic Psychotherapy หรือ Integrative psychotherapy เป็นการทำจิตบำบัดแบบผสมผสานแต่ละกระบวนการเข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสถานะการของผู้รับบำบัด ณ ตอนนั้น  @Mentalwell.clinic

กระบวนทำจิตบำบัดที่แต่ละรูปแบบ

ศิลปะบำบัด :

     เน้นการสื่อสารและปลดปล่อยสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจผ่านงานศิลปะซึ่งเป็นตัวกลางในการสื่อสาร และช่วยให้ผู้รับบำบัด เข้าใจในตนเอง เห็นทางออกของปัญหา ผ่อนคลายอารมณ์ เหมาะกับทั้งคนที่ไม่สามาสรถสื่อสารด้วยคำพูด ไม่ถนัดสื่อสารด้วยคำพูด เช่นเด็ก ผู้สูงอายุ และ คนทั่วไปที่สามารถสื่อสารได้ปกติ 
     Solution Based therapy : เป็นการทำจิตบำบัดเชิงบวก โดยเน้นที่การหาทางออกของปัญหา หรือคำตอบของปัญหา เน้นที่ปัจจุบัน และอนาคต ไม่เน้นอดีต แต่มุ่งแสวงหาวิธีการแก้ปัญหา หรือหาทางออกที่เหมาะสมให้กับปัญหา   เพราะจริงๆแล้ว1 ปัญหามีทางออกหลายแนวทาง แต่วิธีการแก้ปัญาของคนหนึ่งอาจไม่เหมาะกับอีกคนหนึ่งก็ได้ 
     ในจิตบำบัดแนวนี้นักบำบัดจะ จุดประกายความเชื่อในตัวของผู้รับบริการว่าตนเองสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ปรับเปลี่ยนมุมมองของผู้รับบริการโดยใช้การจัดกรอบความคิดใหม่ (reframing)

CBT :

การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม พื่อปรับรูปแบบความคิด ความเข้าใจและพฤติกรรม

Satir :

เน้นความกลมกลืน ไม่ขัดแย้งต่อตนเอง และสิ่งแวดล้อม

จิตบำบัดแนวจิตวิเคราะห์ :

เน้นแก้ไขปมในอดีต รู้เท่าทันกลไกป้องกันทางจิตของตนเองมากขึ้น เป็นอิสระมากขึ้น 

กระบวนการทำจิตบำบัดเป็นอย่างไร

     การทำจิตบำบัดแต่ละครั้งมักใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที ทั้งหมดประมาณ 3 – 12 ครั้ง โดยประมาณ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายและอาการของผู้รับบำบัดกระบวนการจิตบำบัด แบ่งเป็น  3 ระยะดังนี้
     ระยะแรก เน้นการสร้างสัมพันธภาพ การรับฟังปัญหา ให้ผู้รับบำบัดได้ระบบายความรู้สึกที่แยู่ในจิตใจ และ ตั้งเป้าหมายในการบำบัด
     ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง ตระหนักรู้ในปัญหา หาทางออกของปัญหา ปรับความคิดและพฤติกรรม  สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง เพื่อให้ผู้รับบำบัดได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
     ระยะสิ้นสุด เป็นการเตรียมสิ้นสุดสัมพันธภาพ เตรียมความพร้อมให้ผู้รับบำบัดกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
     ปกติแล้วเรื่องราวของผู้ป่วยจะถูกเก็บเป็นความลับ แต่ในบางกรณี หากผู้ป่วยอาจเสี่ยงต่ออันตราย หรือต้องรับการรักษาเพิ่มเติม จะต้องมีเอกสารรยินยอมจากผู้รับบำบัดเป็นกรณี 
     ซึ่งการไปพบนักจิตบำบัดเพื่อทำจิตบำบัดอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอารมณ์และความรู้สึกที่ดีขึ้น สามารถปรับวิธีการคิดและความรู้สึกที่มีต่อตนเอง และยังช่วยให้สามารถรับมือและแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น